พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์คืออะไร?
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่เราเรียกจนติดปากนั้นย่อมาจากคำว่า
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
หรืออุปกรณ์ต่างๆ เช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค แท็บเล็ต รวมไปถึงระบบคอมพิวเตอร์ในการควบคุมการทำงาน
เช่น ไฟฟ้า ประปา ธนาคาร ซึ่งหากผู้ใดฝ่าฝืน หรือกระทำความผิดใน
จะได้รับบทลงโทษตามข้อกำหนดที่ระบุเอาไว้
ในปัจจุบันมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์
และสมาร์ทโฟนเป็นจำนวนมาก ดังนั้น เรื่องพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์จึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวของทุกคน
เราควรศึกษาข้อกำหนดเพื่อไม่ให้สร้างความเสียหาทั้งต่อตนเองและต่อผู้อื่น
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันคือ
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 เป็นพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับที่ 2 ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ความเห็นชอบเมื่อเดือนธันวาคม
2559 ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาในช่วงวันที่
24 มกราคม 2560 และจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2560 เป็นต้นไป
ตัวอย่างมาตราที่ได้รับการแก้ไข/เพิ่มเติมใน
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับที่ 2
มาตรา 11
ส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออีเมล์รบกวนทำให้บุคคลอื่นเดือดร้อนรำคาญ โดยไม่สามารถยกเลิกได้
ถือเป็นข้อความสแปม มีโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท
มาตรา 12
ความผิดในการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ
เพิ่มโทษการเจาะระบบการทำลายระบบที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ
- การแฮกข้อมูลหรือระบบ, ดักรับ, Spam,เปิดเผยมาตรการป้องกันต่อโครงสร้างสำคัญ มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1-7 ปี ปรับตั้งแต่ 1 หมื่นถึง 1แสนสี่หมื่นบาท
- หากเกิดความเสียหายตามมาด้วย มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี ปรับตั้งแต่ 2 หมื่นถึง 2 แสนบาท
- กระทำผิดตามมาตรา 9 หรือ 10 กระทำต่อข้อมูล/ระบบคอมพิวเตอร์ แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล, ขัดขวาง หรือชะลอการทำงานระบบโครงสร้างสำคัญมีโทษจำคุกตั้งแต่ 3-5 ปี ปรับตั้งแต่ 6 หมื่นถึง 3 แสนบาท
- หากเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิต แต่ไม่เจตนา มีโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ 1-4 แสนบาท
เพิ่มเติม
12/1 ถ้าผิดตามมาตรา 9 หรือ 10 ทำให้เกิดอันตราย/ทรัพย์สินของบุคคลอื่น หากเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิต แต่ไม่เจตนา มีโทษจำคุกตั้งแต่
5-20 ปี และปรับตั้งแต่ 1 แสนถึง 4 แสนบาท
หากต้องการอ่านฉบับเต็มคลิกที่นี่
8 สิ่งที่ควรรู้ใน
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับที่ 2
1. เข้าถึงระบบ
หรือข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ชอบ (มาตรา 5-8)
เข้าถึงข้อมูลในคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโทดยไม่ได้รับอนุญาต ละเมิดความเป็นส่วนตัว
เช่น การปล่อยไวรัส มัลแวร์ แฮกที่เข้าไปขโมยข้อมูลของคนอื่น
- เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และนำไปเปิดเผย: จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. แก้ไข ดัดแปลง
หรือทำให้ข้อมูลผู้อื่นเสียหาย (มาตรา 9-10)
- การทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้อื่นโดยมิชอบ หรือทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นทำงานผิดปกติ มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ถ้าเป็นการเข้าถึงระบบ ข้อมูลด้านความมั่นคงโดยมิชอบ มีโทษจำคุก 3-15 ปี และปรับ 6 หมื่น – 3 แสนบาท
- ถ้าเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อบุคคลอื่น ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับ 2 แสนบาท
- ถ้าเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย ต้องจำคุก 5-20 ปี และปรับ 1-2 แสนบาท
3. ส่งข้อมูลหรืออีเมลก่อกวนผู้อื่น
หรือส่งอีเมลสแปม (มาตรา 11)
- ข้อมูลสแปม มีความผิดในฐานส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์รบกวนการใช้งานของผู้อื่นจนทำให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ เช่น E-mail รวมไปถึงการฝากร้าน การฝากเพจ มีโทษปรับ 200,000 บาท
- หากการส่งเป็นการปกปิดแหล่งที่มา มีโทษปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
- ข้อความสแปมโดยไม่ให้ปฏิเสธ มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4. เข้าถึงระบบ
หรือข้อมูลทางด้านความมั่นคงโดยมิชอบ (มาตรา 12)
การเข้าถึงระบบหรือข้อมูลทางด้านความมั่นคงโดยมิชอบ
โพสต์เกี่ยวกับเรื่องการเมืองที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายหรือความมั่นคงต่อประเทศ
หรือโพสต์ที่เป็นการก่อกวนทำให้ตื่นตระหนก ละล่วงรู้ถึงมาตรการการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และนำไปเปิดเผย
- กรณีไม่เกิดความเสียหาย: จำคุก 1-7 ปี และปรับ 2 หมื่น – 1.4 แสนบาท
- กรณีเกิดความเสียหาย: จำคุก 1-10 ปี และปรับ 2 หมื่น – 2 แสนบาท
- กรณีเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย: จำคุก 5-20 ปี และปรับ 1 แสน – 4 แสนบาท
5. จำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อนำไปใช้กระทำความผิด (มาตรา 13)
- จำหน่ายหรือเผยแพร่ข้อมูลในการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 5-11 (หรือข้อ 1-3 ในบทความนี้) ต้องจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- จำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดข้อมูลเพื่อนำไปใช้กระทำความผิดต่อข้อมูล มาตรา 12 มีโทษจำคุก 2 ปี และปรับ 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
6. นำข้อมูลที่ผิดพ.ร.บ.เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
(มาตรา 14)
ในความผิดมาตรา 14
จะระบุโทษการนำข้อมูลที่เปิดพ.ร.บ.เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ข้อความผิดด้วยกันคือ
2. โพสต์ข้อมูลความผิดเกี่ยวกับความมั่งคงปลอดภัย
3. โพสต์ข้อมูลความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง ก่อการร้าย
4. โพสต์ข้อมูลลามก ที่ประชาชนเข้าถึงได้
5. เผยแพร่ ส่งต่อข้อมูล ที่รู้แล้วว่าผิด ( Share ข้อมูลที่มีเนื้อหาเข้าข่ายความผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์)
บทลงโทษ
- หากเป็นการกระทำที่ส่งผลถึงประชาชน ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- หากเป็นกรณีที่เป็นการกระทำที่ส่งผลต่อบุคลใดบุคคลหนึ่ง ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (แต่ในกรณีอย่างหลังนี้สามารถยอมความกันได้)
7. ให้ความร่วมมือ ยินยอม
รู้เห็นเป็นใจกับผู้ร่วมกระทำความผิด (มาตรา 15)
ยกตัวอย่างเช่น
แอดมินเพจที่ปล่อยใหมีการแสดงความคิดเห็นที่มีเนื้อหาผิดกฎหมายก็มีความผิด หากพบเจอข้อความดังกล่าวและทำการลบถือว่าไม่ผิด
บทลงโทษ
- ถ้าไม่ลบข้อความดังกล่าว ถือว่ากระทำความผิดตามมาตรา 14 รับโทษเช่นเดียวกันผู้โพสต์ หรือแสดงความคิดเห็นทางออนไลน์ หากผู้ดูแลระบบพิสูจน์ได้ว่า ตนได้ปฏิบัติตามขั้นตอนการแจ้งเตือนแล้วไม่ต้องรับโทษ
- ผู้ให้บริการมีหน้าที่เก็บข้อมูลการใช้งานไม่น้อยกว่า 90 วัน ในกรณีที่จำเป็น ศาลอาจสั่งให้เก็บข้อมูลเพิ่มได้ไม่เกิน 2 ปี
8. ตัดต่อ เติม
หรือดัดแปลงภาพ (มาตรา 16)
ความผิดข้อนี้
แบ่งออกเป็น 2 ประเด็นหลักคือ
1.
การโพสต์ภาพของผู้อื่นที่เกิดจากการสร้าง
ตัดต่อ หรือดัดแปลง ทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง จนทำให้บุคคลนั้นเกิดความเสียหาย
2.
การโพสต์ภาพผู้เสียชีวิต
หากเป็นการโพสต์ที่ทำให้บิดามารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง
ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย
บทลงโทษ
- หากทำผิดตามนี้ ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
สิ่งที่ไม่ควรทำบนเครือข่ายสังคมออนไลน์
1.ไม่โพสต์กิจกรรมที่ผิดกฎหมาย
2.ไม่ควรโพสต์ข้อความ
ที่ชี้ชวนให้มิจฉาชีพรับรู้ความเคลื่อนไหวส่วนตัว
3.โพสต์ข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนบุคคล
4.
ให้ระมัดระวังการเช็คอิน (Check-in) ผ่านสื่อสังคมออนไลน์
5.ไม่ระบุชื่อบุตรหลาน
ระบุภาพหรือติด tag ในรูปภาพมากเกินไป
6.ไม่ส่งหลักฐานส่วนตัวของตนเองและคนในครอบครัวให้ผู้อื่น
7.พึงระมัดระวังอย่างยิ่งที่จะไว้ใจหรือเชื่อใจคน
ที่รู้จักผ่านอินเทอร์เน็ต
สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากวีดีโอที่น่าสนใจ ดังนี้
ผู้ใช้ - เล่นอินเตอร์เน็ต ต้องดู
พรบ.ความผิดคอมพิวเตอร์แก้ไขใหม่
สรุปประเด็นสำคัญxความแตกต่าง พรบ.คอมฯปี50vsปี60
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
สอบถามข้อมูล
/แจ้งข้อมูลเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม
Source : https://contentshifu.com/computer-law/
https://www.facebook.com/PRD2UBON/photos/-8-เรื่องที่ห้ามทำ-ผิดกฎหมาย-พรบคอมพิวเตอร์-1-เข้าถึงระบบ-หรือข้อมูลของผู้อื่นโด/1945428788826710/
https://www.dga.or.th/upload/download/file_ce8c32197b28a5d438136a3bd8252b7c.pdf
https://www.marketingoops.com/news/viral-update/computer-law/
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
สอบถามข้อมูล /แจ้งข้อมูลเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม
สอบถามข้อมูล /แจ้งข้อมูลเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม
Source : https://contentshifu.com/computer-law/
https://www.facebook.com/PRD2UBON/photos/-8-เรื่องที่ห้ามทำ-ผิดกฎหมาย-พรบคอมพิวเตอร์-1-เข้าถึงระบบ-หรือข้อมูลของผู้อื่นโด/1945428788826710/
https://www.dga.or.th/upload/download/file_ce8c32197b28a5d438136a3bd8252b7c.pdf
https://www.marketingoops.com/news/viral-update/computer-law/
https://www.facebook.com/PRD2UBON/photos/-8-เรื่องที่ห้ามทำ-ผิดกฎหมาย-พรบคอมพิวเตอร์-1-เข้าถึงระบบ-หรือข้อมูลของผู้อื่นโด/1945428788826710/
https://www.dga.or.th/upload/download/file_ce8c32197b28a5d438136a3bd8252b7c.pdf
https://www.marketingoops.com/news/viral-update/computer-law/