ปัจจุบันเทคโนโลยีสื่อดิจิทัลต่าง ๆ มีความสำคัญในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่เป็นภาษาที่มีบทบาทและความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ข้อมูลต่าง ๆ และการติดต่อ
สื่อสารของผู้คนทั่วโลกเทคโนโลยีทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นสนใจใส่ใจศึกษาภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้นสื่อดิจิทัลที่ใช้ในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เช่น บล็อก
ทวิตเตอร์ เว็บ แอพพลิเคชั่น ยูทูป
ซึ่งการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้เทคโนโลยีสื่อดิจิทัลเหล่านี้จะทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาและมีความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษที่จะสามารถนำไปใช้ในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ข้อมูลต่าง
ๆ ได้ด้วยตนเองเกิดทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อนำไปดำรงชีพในศตวรรษที่
21 ได้อย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ
ความท้าทายที่สำคัญต่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้เด็กในยุคปัจจุบัน
1. Learn by Digital Content - สื่อออนไลน์มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้
ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและการเติบโตของนักเรียนในยุคปัจจุบันเป็นไปอย่างสอดคล้องกัน
ทำให้เด็กยุคข้อมูลข่าวสารใช้เวลากับส่วนมากทั้งเล่นและเรียนรู้อยู่ในสื่อออนไลน์
สื่อการสอนต่าง ๆ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของภาพ, เสียง (Audiobook),
วิดิโอ (Youtube), คอมพิวเตอร์ (Games),
หรือสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) สามารถออกแบบให้เกิดเป็นสื่อการให้ความรู้ได้แทบทุกช่องทาง
ดังนั้น สื่อออนไลน์ (Digital Content) จึงมีบทบาทที่สำคัญมากต่อพัฒนาการของเด็ก
โดยเฉพาะด้านภาษา จึงเป็นความท้าทายใหม่ในการสร้างสรรค์สื่อการสอนที่มีความน่าสนใจ
พร้อมทั้งก่อให้เกิดการเรียนรู้ของเด็กรุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพและเห็นผลจริง ๆ
2. Learn for Career - เป้าหมายของการเรียนรู้เพื่อได้ใช้ในโลกของการทำงาน
ความต้องการของเด็กรุ่นใหม่ในการเรียนภาษาเปลี่ยนแปลงไป
โดยจากผลการสำรวจ พบว่า “วัย Gen Y และ Gen Z มีความต้องการเพิ่มพูนความรู้เพื่อไปใช้ในการทำงาน
มาก่อนการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน” จะเห็นว่าแรงจูงใจในการเรียนรู้ได้เปลี่ยนแปลงไปจากการเรียนเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน
เป็นการเรียนเพื่อได้ใช้ในการทำงานเป็นอันดับหนึ่ง
ซึ่งส่งผลต่อความต้องการของบทเรียนหรือหลักสูตรที่ใช้ในการสอนภาษาอังกฤษ
ดังนั้น การทำบทเรียนที่ตอบโจทย์เด็กรุ่นใหม่จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ
เพื่อสร้างแรงดึงดูดให้เด็กได้สนใจในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษและตอบโจทย์เป้าหมายของการใช้ภาษาของเด็กรุ่นใหม่
3. Learn with Interaction - ปฏิสัมพันธ์มีผลต่อการเรียนรู้
การสร้างปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้ในแพลตฟอร์มเป็นปัจจัยที่สำคัญของการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสำหรับเด็กรุ่นใหม่
ผู้คนในยุคอินเตอร์เน็ต
โดยเฉพาะวัยแห่งการเติบโตในปัจจุบันมักจะใช้เวลามากไปกับการเล่นเกมหรือใช้งานโซเชียลมีเดีย
ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนทุกวันนี้มีการใช้งานที่มากขึ้นเรื่อย ๆ คือ “ปฏิสัมพันธ์ (Interaction)” โดยแพลตฟอร์มเหล่านี้สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งาน
ซึ่งเป็นแรงดึงดูดให้ผู้ใช้มีความสนใจด้วยตัวของตัวเองไปพร้อม ๆ
กับการเล่นหรือใช้งานภายในแพลตฟอร์ม
สื่อดิจิทัลที่ใช้ในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษสื่อดิจิทัลในปัจจุบันแบ่งออกเป็นหลายประเภท
โดยแบ่งออกเป็น 4ประเภท
1) บล็อก(Blogs) คือเว็บไซด์รูปแบบหนึ่งที่ให้บริการสำหรับบุคคลทั่วไปที่ต้องการบอกเล่าเรื่องราวต่าง
ๆ นำเสนอความคิดเห็นส่วนตัว สิ่งที่ตนเองรู้หรือสิ่งที่ตนเองสนใจเพื่อแบ่งปันความรู้ให้กับผู้อื่นจึงได้สร้างและเขียนบล็อกของตัวเองขึ้นมาที่มีลักษณะคล้ายกับการเขียนไดอารี่หรือบันทึกส่วนตัว
ซึ่งได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน ตัวอย่างเว็บไซต์ที่เป็นบล็อกเช่น GotoKnow, wordpress, blogger,Bloggang เป็นต้นปัจจุบันนี้บล็อกนั้นสามารถที่จะแสดงรูปภาพ
ไฟล์เสียงหรือไฟล์วิดีโอได้ ซึ่งผู้เรียนสามารถสร้างบล็อกส่วนตัวเพื่อทำแฟ้มสะสมงาน
(Portfolio)โดยผู้เรียนอาจเขียนบล็อกที่เกี่ยวกับเนื้อหาในบทเรียน
การบ้านหรืองานกลุ่ม เปิดโอกาสให้ผู้อ่านได้เข้ามาอ่านแสดงความคิดเห็นหรือให้ผลสะท้อนกลับ(Feedback)ข้อวิพากษ์วิจารณ์ต่องานเขียนโดยผู้เขียนสามารถที่จะนำข้อคิดเห็น
วิพากษ์วิจารณ์
ดังกล่าวมาเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงแก้ไขงานเขียนของตนให้ดีขึ้นในโอกาสต่อไป
การนำ Blog มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสามารถทำได้ ดังนี้
1.ผู้สอนสามารถใช้บล็อกในการโพสต์งานหรือการบ้านที่มอบหมายให้ผู้เรียนทำสร้างบทเรียนหรือแนะนำแหล่งความรู้ข้อมูลต่าง
ๆ เกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่มีความทันสมัยให้แก่ผู้เรียนทำให้ผู้เรียนได้ติดตามทราบถึงความก้าวหน้าของการเรียนการสอนและสามารถพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษของตนเองได้เพิ่มมากขึ้น
2.ผู้สอนใช้บล็อกในการช่วยพัฒนาทักษะการเขียนให้แก่ผู้เรียนได้โดยผู้สอนกำหนดวัตถุประสงค์ในการสอนและกำหนดประเด็นของเรื่องที่จะให้ผู้เรียนเขียนหรือบันทึกเช่นการฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษเกี่ยวกับการท่องเที่ยวซึ่งผู้เรียนจะเขียนโดยใช้รูปแบบการเขียนที่หลากหลายเช่นการเขียนบรรยาย
เล่าเรื่อง กิจกรรม ประสบการณ์
หรือความประทับใจและมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่นที่อาจจะเข้ามาอ่านและแสดงความคิดเห็นของตนเองไว้เพื่อให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงงานเขียนของผู้เรียนให้มีความสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2) ไมโครบล็อก(Micro Blog) เป็นรูปแบบหนึ่งของBlogมีการแสดงหัวข้อและความคิดเห็นที่กระชับ เป็นข้อความสั้น ๆ ที่จำกัดขนาดของข้อความที่เขียนเช่น
Twitter, Tumblr และInstagram โดย Twitter เป็น Micro Blog ที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด Twitter
Twitter คือบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์จำพวกไมโครบล็อก
(Micro Blogging) โดยผู้ใช้สามารถส่งข้อความยาวไม่เกิน 140
ตัวอักษร เป็นการบอกว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ในช่วงเวลานั้นหรือ
รีทวิต (Re-tweet) ส่งต่อข่าวสารที่น่าสนใจของคนอื่นได้ด้วยเช่นกัน
ทวิตเตอร์สามารถนำมาใช้เพื่อช่วยพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษให้แก่ผู้เรียนได้ ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้โดยการสร้างสรรค์ผลงาน
(Task-based Learning) ให้แก่ผู้เรียน
เป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์และการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative Learning)
การส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะโดยครูมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกช่วยชี้แนะและส่งเสริมวิธีการเรียนรู้ให้นักเรียนได้เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
(Harmandaoglu, 2012) โดยผู้สอนสามารถกำหนดกิจกรรมได้อย่างมากมายหลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ซึ่งผู้สอนสามารถเลือกหัวข้อการศึกษาที่น่าสนใจแล้วทวิตข้อความไปให้ผู้เรียนได้แสดงความเห็นบนทวิตเตอร์เกี่ยวกับหัวข้อหรือประเด็นดังกล่าวอีกทั้งผู้สอนยังสามารถวิเคราะห์ตรวจสอบไวยากรณ์
หรือแก้ไขงานเขียนให้แก่ผู้เรียนได้ นอกจากนี้ยังสามารถพัฒนาคำศัพท์ภาษาอังกฤษให้แก่ผู้เรียนโดยในแต่ละสัปดาห์อาจมีการทวิตส่งข้อความเกี่ยวกับคำเหมือน(Synonyms)
หรือคำตรงข้าม (Antonyms) เป็นต้นซึ่งทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และพัฒนาคำศัพท์ของตนได้อย่างกว้างขวางเพิ่มขึ้น
การนำTwitterมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสามารถทำได้ดังนี้
1. ในการฝึกทักษะการอ่านผู้สอนสามารถแนะนำให้ผู้เรียนติดตามบุคคลที่ผู้เรียนสนใจและเขียนรายงานในสิ่งที่ได้เรียนรู้มาเกี่ยวกับบุคคลนั้นๆหรือผู้สอนอาจทวิตรายชื่อหนังสื่อที่น่าสนใจ
เช่นหนังสือโรมิโอและจูเลียตโดย วิลเลียม เชกสเปียร์ (Shakespeare’s Romeo
and Juliet) และต้องการให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรียนรู้ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในเนื้อหาวิชา
2. ในการฝึกทักษะการเขียน
-ผู้สอนสามารถให้ผู้เรียนระดมสมองช่วยกันคิดในหัวข้อที่กำหนดซึ่งอาจเป็นเรื่องของไวยากรณ์เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียน-ผู้เรียนใช้ทวิตเตอร์ในพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอภิปรายกับผู้เรียนคนอื่นในหัวข้อต่าง
ๆ ที่สนใจอาจเป็นเรื่องราวในชีวิตประจำวันหรือบทเรียนในห้องเรียน-ผู้สอนสามารถให้ผู้เรียนเขียนคำถามลงทวิตเตอร์ก่อนหรือระหว่างเรียนซึ่งผู้สอนจะตอบคำถามเหล่านั้นในขณะทำการเรียนการสอนได้เป็นการช่วยให้ผู้เรียนที่ไม่กล้าถามได้มีโอกาสซักถามข้อสงสัยกับผู้สอนโดยตรง-ผู้สอนอาจมอบหมายงานให้เขียนสรุปเรื่องที่อ่านหรือฟังโดยทวิตเป็นข้อความไม่เกิน140
ตัวอักษรซึ่งเป็นการฝึกการเขียนสรุปความและเป็นการทบทวนบทเรียนและความเข้าใจของผู้เรียน
3) เว็บแอพพลิเคชั่น(Web Application) คือโปรแกรมประยุกต์บนเว็บที่ถูกเขียนขึ้นมาสำหรับการใช้งานเว็บเพจ(Webpage)ต่างๆสามารถเข้าถึงด้วยโปรแกรมค้นดูเว็บผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ตเว็บแอพพลิเคชั่นเป็นที่นิยมเนื่องจากความสามารถในการดูแลและอัพเดทข้อมูลโดยไม่ต้องนำไปแจกจ่ายหรือติดตั้งซอฟต์แวร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์เว็บแอพพลิเคชั่นที่นิยมนำมาใช้ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษได้แก่ EDpuzzle และ Quizlet
EDpuzzle เป็นเทคโนโลยีหรือเครื่องมือสำหรับผู้สอนที่ช่วยในการสร้างสรรค์สื่อบทเรียนปฏิสัมพันธ์ใน
รูปแบบวิดีโอ ผ่านการผสมผสานคลิปวิดีโอหรือเนื้อหาบทเรียนจากแหล่งทรัพยากรทางการเรียนรู้แบบเปิดที่หลากหลาย
อาทิ YouTube, Khan Academy, National Geographic, TED Talks ในการสร้างสื่อวิดีโอจาก Edpuzzle ผู้สอนสามารถออกแบบเนื้อหารวมถึงการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ทันที
โดยผู้สอนสามารถแทรกคำถาม
หยุดวิดีโอเพื่อเพิ่มข้อความหรือเล่าเรื่องได้คั่นระหว่างการดูวิดีโอเนื้อหา
กล่าวได้ว่า Edpuzzle เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยสร้างสื่อเนื้อหาบทเรียนมัลติมีเดียให้มีความน่าสนใจ
ผู้สอนสามารถสร้างสื่อบทเรียนปฏิสัมพันธ์ได้อย่างง่ายผ่านการตัดต่อคลิปวิดีโอ
แทรกคำถาม และทำให้ผู้เรียนรู้สึกสนุก กับการทดสอบและการวัดประเมินผล
ผู้สอนสามารถประยุกต์ใช้ Edpuzzle ในกระบวนการเรียนการสอนทั้งใน
รูปแบบการเรียนรู้แบบ Active Learning และในรูปแบบห้องเรียนกลับด้าน
(Flipped Classroom) ได้อีกด้วย (Amornrit,2018) Edpuzzle เหมาะกับผู้เรียนทุกเพศทุกวัย
ผู้สอนเพียงแต่เลือกสื่อวิดีโอที่เหมาะสำหรับบทเรียนและผู้เรียนผู้เรียนเพียงแต่มีอุปกรณ์ดิจิทัลเช่นiPadผู้เรียนก็สามารถเข้าถึงวิดีโอที่มีประสิทธิภาพต่อการฝึกทักษะการอ่าน
การเขียนและการฟังได้เป็นอย่างดี(Alvaradoet al., 2016)
การนำEdpuzzleมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ สามารถทำได้ดังนี้
1. ผู้สอนกำหนดวัตถุประสงค์ เนื้อหาเรื่องที่จะสอนเช่น
การฝึกทักษะการฟังข่าวภาษาอังกฤษจากBBCจากนั้นทำการเลือกวิดีโอที่อาจจะสร้างขึ้นมาเองหรือจากแหล่งข้อมูลต่าง
ๆ โดยผู้สอนสามารถตัดต่อคลิปวิดีโอ
อธิบายเนื้อหาไปพร้อมกับการเล่นวิดีโอแทรกข้อคิดเห็นหรือคำถามในแต่ละช่วงของวิดีโอตามความต้องการและสามารถกำหนดให้ผู้เรียนไม่สามารถข้ามเนื้อหาของวิดีโอได้ซึ่งคำถามอาจเป็นคำถามแบบปลายเปิดคำถามแบบหลายตัวเลือกคำตอบหรือการใส่ข้อคิดเห็นต่าง
ๆ
2.
ผู้สอนมอบหมายงานให้ผู้เรียนดูคลิปวิดีโอที่สร้างเนื้อหาและคำถามไว้แล้วผู้เรียนดู
คลิปวิดีโอและตอบคำถามผู้สอนสามารถติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียนจำนวนครั้งที่ผู้เรียนเข้าดูสื่อวิดีโอ
การเข้าระบบครั้งล่าสุดการเข้าทำกิจกรรมผลคำตอบรวมถึงการให้คะแนนของผู้สอน
ผู้สอนยังสามารถตรวจสอบได้อีกว่าผู้เรียนคนใดเข้าใจเนื้อหาในบทเรียนแล้วและผู้เรียนที่ยังไม่เข้าใจเนื้อหาที่เรียนและต้องการคำอธิบายเพิ่มเติม
3. ผู้สอนสามารถใช้วิดีโอจาก Edpuzzle ในการนำเข้าสู่บทเรียนในห้องเรียนโดยให้ผู้เรียนดูและตอบคำถามจากคลิปวิดีโอจากนั้นผู้เรียนแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นต่าง
ๆ เกี่ยวกับคลิปวิดีโอกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนและผู้สอนอภิปรายถึงปัญหาหรือข้อคำถามในคลิปวิดีโอที่ผู้เรียนส่วนใหญ่ตอบไม่ได้หรือผู้สอนอาจจะใช้วิดีโอจาก
Edpuzzle ในการทบทวนบทเรียนในห้องเรียน
โดยผู้เรียนจะดูคลิปวิดีโอและตอบคำถามทุกข้อ เพื่อประเมินผลการเรียน
ความก้าวหน้าและความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียน
นอกจากนี้ผู้เรียนสามารถสร้างวิดีโอให้ผู้สอนหรือเพื่อนร่วมห้องได้ดูเพื่อแสดงถึงความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนและสิ่งที่ได้เรียนรู้มา

Quizletเป็นเว็บแอพพลิเคชั่นที่ใช้ในการฝึกฝนทักษะด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้บัตรภาพ
บัตรคำศัพท์และเกมส์ต่าง ๆ เป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้ซึ่งแสดงความหมายและรูปภาพประกอบ
คำศัพท์และวิธีการเรียนรู้คำศัพท์หลากหลายวิธี คือ
1) Flashcards คือการเรียนรู้คำศัพท์จากความหมายและภาพ
2) Learn คือแบบทดสอบคำศัพท์หลากหลายวิธีการเช่น บัตรคำศัพท์ คำถามแบบเลือกตอบ
3) Write คือการพิมพ์คำศัพท์จากภาพและความหมายที่ปรากฏ
4) Spell คือแบบทดสอบคำศัพท์ด้วยการฟังเสียงและพิมพ์คำศัพท์จากเสียงที่ได้ยิน
5) Test คือการสร้างแบบทดสอบคำถาม 4
รูปแบบสามารถเลือกได้ว่าจะใช้คำถามแบบใดคือ แบบเขียนคำตอบสั้น
แบบเลือกตอบแบบทดสอบแบบจับคู่และแบบจริงเท็จ
6) Match คือเกมส์จับคู่คำศัพท์และความหมาย
7) Gravity คือเกมส์พิมพ์คำศัพท์หรือความหมายโดยคำถามจะหล่นลงมาพร้อมกับอุกกาบาต
8) Live คือ เกมส์ที่ให้ผู้เรียนเล่นเป็นทีมร่วมกันหาความหมายของศัพท์Quizletเหมาะสำหรับผู้ต้องการพัฒนาทักษะด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษซึ่งอาจจะเป็นครูผู้สอนที่ต้องการฝึกฝนทักษะด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษให้แก่ผู้เรียนหรือผู้เรียนที่มีความต้องการเพิ่มพูนพัฒนาทักษะด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษได้อย่างง่ายดายและสนุกกับการเรียน(Phỉet
al., 2015)ซึ่งสอดคล้องกับ Özer & Koçoğlu(2017)ได้ศึกษาเรื่องThe Use of Quizlet Flashcard Software and Its
Effects on Vocabulary Learning พบว่ากลุ่มผู้เรียนที่ได้รับการพัฒนาทักษะด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษผ่านเว็บแอพพลิเคชั่น
Quizletมีผลของการพัฒนาเรียนรู้และจดจำศัพท์ภาษาอังกฤษได้ดีกว่ากลุ่มผู้เรียนที่ใช้วิธีการเรียนรู้คำศัพท์แบบจดใส่สมุดจดคำศัพท์และสอดคล้องกับงานวิจัยของ Phỉet al(2015)ที่ได้ศึกษาเรื่องApplication
of Quizzlet.com to Teaching and Learning Business English Vocabulary at the
University of Economics Ho Chi Minh Cityผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าผู้เรียนที่ได้รับการพัฒนาทักษะด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษผ่านเว็บแอพพลิเคชั่นQuizletนั้นได้มีการพัฒนาทักษะด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษและเกิดแรงจูงใจต่อการเรียนรู้และจดจำศัพท์ภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้นและผู้เรียนแสดงทัศนคติว่าQuizletมีประโยชน์ต่อการเรียนรู้และจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้เรียนเห็นว่าการสอนแบบชั้นเรียนแบบปกติแบบดั้งเดิมนั้นไม่น่าสนใจและน่าเบื่ออีกทั้งยังขาดทรัพยากรสำหรับการเรียนรู้อย่างพอเพียงต่อการฝึกปฏิบัติดังนั้นการที่ผู้สอนใช้Quizletในการสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษจะทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ
การออกเสียงภาษาอังกฤษซึ่งผู้เรียนจะได้รับความสนุกสนานจากการเรียนรู้และเล่นเกมส์คำศัพท์ไปในเวลาเดียวกันซึ่งดีกว่าการต้องท่องจำคำศัพท์เป็นจำนวนมากซึ่งจะทำให้ผู้เรียนรู้สึกยากในการจดจำคำศัพท์และทำให้ขาดแรงจูงใจต่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
การนำ Quizlet มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ สามารถทำได้ดังนี้
1. ผู้สอนสามารถใช้ Quizlet ในการฝึกฝนทักษะคำศัพท์ภาษาอังกฤษให้แก่ผู้เรียน
โดยผู้สอนนำคำศัพท์จากหนังสือหรือบทเรียนมาสร้างชุดคำศัพท์พร้อมด้วยความหมายหรือรูปภาพ
จากนั้นผู้เรียนสามารถฝึกฝนทักษะคำศัพท์ภาษาอังกฤษได้ด้วยตนเองผ่านทางโทรศัพท์มือถือ
แท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์โดยสามารถเลือกฝึกทักษะคำศัพท์ภาษาอังกฤษได้หลายวิธี เช่น Flashcards,
Learn,Write, Spell, Test, Match, Gravity, Live โดยผู้สอนสามารถใช้ชุดคำศัพท์ในการฝึกฝนคำศัพท์ให้ผู้เรียนระหว่างการเรียนการสอนหรือทบทวนคำศัพท์เมื่อจบบทเรียนและผู้เรียนสามารถใช้
Quizlet ในการฝึกฝนทักษะคำศัพท์ภาษาอังกฤษนอกห้องเรียนได้อีกด้วย
2.
ผู้สอนสามารถให้ผู้เรียนฝึกฝนทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษโดยผู้เรียนฝึกออกเสียงคำศัพท์ตามที่ได้ยินจากการใช้เครื่องมือเรียนรู้
Spell คือแบบทดสอบคำศัพท์ด้วยการฟังเสียงหรือระหว่างการฝึกฝนทักษะคำศัพท์โดยใช้บัตรภาพ
บัตรคำศัพท์
3. ผู้สอนสามารถสร้างแบบฝึกหัดไวยากรณ์โดยใช้ Quizletในลักษณะของบัตรคำที่ให้เขียนคำศัพท์หรือโครงสร้างประโยคไวยากรณ์ต่าง
ๆ ลงไปได้ในแต่ละด้านของบัตรคำเช่น การให้ชุดของคำปรากฏร่วม (collocation
words) ของคำศัพท์แทนการให้ความหมายของคำศัพท์นั้น ๆ บนอีกด้านของบัตรคำหรือการเรียงคำให้เป็นประโยคที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์โดยเขียนคำศัพท์ที่สลับลำดับไว้ด้านหนึ่งของบัตรคำและอีกด้านหนึ่งให้เขียนประโยคที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ของชุดคำที่สลับที่กันนั้นทำให้ผู้เรียนฝึกฝนและจดจำหลักไวยากรณ์ได้
4)Media Sharing เป็นเว็บไซต์ที่ให้ผู้ใช้สามารถอัพโหลดรูปภาพ
วิดีโอ
หรือเพลงเพื่อแบ่งปันหรือเผยแพร่ให้กับสมาชิกหรือสาธารณชนทั่วไปตัวอย่างเว็บไซต์ที่เป็นMedia Sharingเช่น Youtube,
Vimeo, Veoh, Flickr, Photobucket, Imageshack
และ Snapfish ซึ่ง Youtubeเป็น Media Sharingที่ได้รับความนิยมมากที่สุด

YouTubeคือเว็บไซต์ที่ให้บริการแลกเปลี่ยนภาพวิดีโอระหว่างผู้ใช้ได้ฟรีโดยผู้ใช้ที่เป็นสมาชิกสามารถเข้าไปดูหรืออัพโหลด
(upload) ภาพวิดีโอต่าง ๆ พร้อมทั้งแบ่งปันภาพวิดีโอให้คนอื่นดูได้แต่ผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกจะไม่สามารถอัพโหลดวิดีโอแต่สามารถเข้าไปเปิดดูภาพวิดีโอของผู้ใช้คนอื่นดูได้
โดยผู้สอนสามารถนำยูทูปมาใช้ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาทักษะด้านการฟังการพูด
การอ่าน การเขียนของผู้เรียนได้
ผู้สอนสามารถที่จะเลือกบางตอนของภาพยนตร์ที่มีความเหมาะสมต่อระดับของผู้เรียน
แล้วบอกให้ผู้เรียนตั้งใจดูเมื่อเปิดให้ดูครั้งแรกและต่อมาก็ให้ผู้เรียนฝึกพูดตามบทสนทนาที่ปรากฏในภาพยนตร์ซึ่งเป็นการฝึกทักษะการพูดให้แก่ผู้เรียน
หรือผู้สอนอาจเปิดบางช่วงของคลิปวิดีโอแล้วขอให้ผู้เรียนใช้จินตนาการแต่งเรื่องหรือบรรยายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไป
เป็นการฝึกทักษะให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ อีกทั้งยังสามารถให้ผู้เรียนทำแบบฝึกหัดที่มีความเกี่ยวเนื่องกับคลิปวิดีโอที่ได้ดูนั้น
ๆ ซึ่งเป็นการฝึกพัฒนาทักษะการฟังและการเขียนไปในเวลาเดียวกัน
ผู้สอนอาจให้ผู้เรียนฝึกทักษะการฟังและการเขียนโดยสรุปข่าวหรือเขียนลำดับของข่าวจากการฟังข่าวจากสำนักข่าวต่าง
ๆ เช่น ซีเอ็นเอ็น (CNN) หรือ บีบีซี(BBC)ซึ่งสอดคล้องกับ Boonbandol& Soontornwipat(2017)
ได้ศึกษาเรื่องการใชวีดีโอภาษาอังกฤษจากยูทูปพัฒนาทักษะการพูดของนักเรียนอาชีวศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงหบุรีผลการวิจัยพบวาวีดีโอภาษาอังกฤษจากยูทูปพัฒนาทักษะการพูดของนักเรียนอาชีวศึกษาAlmurashi(2016) ศึกษาเรื่อง The Effective
Use of Youtube
Videos for Teaching
English Language in
Classrooms as Supplementary
Material at Taibah University in Alula พบว่า
วีดีโอภาษาอังกฤษจากยูทูปสามารถช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนภาษาอังกฤษและยังช่วยพัฒนาเพิ่มระดับความสามารถทางทักษะภาษาอังกฤษให้แก่ผู้เรียนได้เป็นอย่างมากและพบว่าวิดีโอภาษาอังกฤษจากยูทูปเป็นสื่อการสอนที่ดีสำหรับผู้สอนซึ่งสามารถช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้และเข้าใจบทเรียนได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพมากกว่าการสอนที่ใช้แต่หนังสือหรือตำราเรียนเพียงอย่างเดียวอีกทั้งผู้เรียนยังมีทัศนคติว่าการดูวีดีโอภาษาอังกฤษจากยูทูปในห้องเรียนช่วยให้มีความสนุกสนานในการเรียนรู้และมีบรรยากาศที่น่าเรียนอีกด้วย
การนำYouTubeมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ สามารถทำได้ดังนี้
1.ในการฝึกทักษะการฟังและพูดผู้สอนสามารถให้ผู้เรียนเลือกบางตอนของภาพยนตร์ที่ผู้เรียนสนใจและมีความเหมาะสมต่อระดับของผู้เรียนจากนั้นให้ผู้เรียนถอดเสียงภาพยนตร์ออกเป็นข้อความแล้วให้ผู้เรียนฝึกออกเสียงภาษาอังกฤษเลียนแบบตัวละครในภาพยนตร์ซึ่งผู้เรียนสามารถอัดเสียงของตนเองลงไปในคลิปวิดีโอของภาพยนตร์ได้หรือผู้สอนอาจให้ผู้เรียนแสดงบทบาทเลียนแบบตัวละครในภาพยนตร์ซึ่งผู้เรียนจะได้ฝึกทักษะการฟังการพูดและการออกเสียงไปในเวลาเดียวกัน
2.
ในการฝึกทักษะการอ่านและการเขียนผู้สอนมอบหมายให้ผู้เรียนดูคลิปวิดีโอจากYouTubeเช่น รายการTED
Talks จากนั้นให้ผู้เรียนฟัง จดบันทึกรายละเอียดและประเด็นสำคัญของคลิปวิดีโอเขียนสรุปความและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนซึ่งผู้สอนอาจให้ผู้เรียนเขียนเรียงความจากข้อมูลที่ได้บันทึกรายละเอียดและประเด็นสำคัญต่าง
ๆ ของคลิปวิดีโอไว้หรือให้ผู้เรียนรายงานพูดสรุปเรื่องราวจากคลิปวิดีโอ นอกจากนี้ผู้สอนสามารถให้ผู้เรียนทำแบบฝึกหัดที่มีความเกี่ยวเนื่องกับคลิปวิดีโอ
เช่น แบบฝึกหัดคำศัพท์ จับคู่ เติมคำ อ่านเรื่องแล้วตอบคำถามต่าง ๆ การเขียนลำดับของเหตุการณ์ในคลิปวิดีโอเป็นต้น
Source : https://www.disruptignite.com/blog/english-for-all-phaasaa-angkrskab-naakhtkh-ngedkrunaihm
จิรารัตน์ ประยูรวงษ์. (2019). DIGITAL LEARNINGการเรียนรู้ภาษาอังกฤษบนโลกดิจิทัลในศตวรรษที่
21.
เนื้อหาเยี่ยมเลยค่ะ😍
ตอบลบ